ดูกไก่ย่าน ๑

Dimetia capitellata (Wall. ex G. Don) Neupane et N. Wikstr.

ชื่ออื่น ๆ
กำลังหัวละมาน (เชียงใหม่); ขมิ้นไม้ (จันทบุรี); เครือเขาขื่น (เชียงใหม่); เครือมุ้งกระต่าย (หนองคาย);
ตองแห้ง (ใต้); ย่านตะคลองแห้ง (ปัตตานี)

ไม้เลื้อย กิ่งอ่อนมักเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรี รูปไข่ รูปไข่แกมรูปใบหอก หรือรูป ใบหอก หูใบระหว่างก้านใบรูปสามเหลี่ยมเล็ก ขอบเป็นแฉกลึกคล้ายขนแข็ง ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกที่ ยอดหรือตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกเล็กสีขาวหรือสีนวล ผลแบบผลแห้งแตก รูปทรงค่อนข้างกลม เส้นผ่าน ศูนย์กลาง ๒-๓ มม. ปลายผลบุ๋มเป็นแอ่งตื้น มีกลีบเลี้ยงติดทน เมล็ดขนาดเล็ก มีเหลี่ยมค่อนข้างมน


     ดูกไก่ย่านชนิดนี้เป็นไม้เลื้อย กิ่งอ่อนมักเป็นสัน สี่เหลี่ยม เกลี้ยง กิ่งแก่เหลี่ยมค่อนข้างมน ลำต้นแก่ มีเนื้อไม้
     ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรี รูปไข่ รูป ไข่แกมรูปใบหอก หรือรูปใบหอก กว้าง ๑-๒.๖ ซม. ยาว ๓-๗ ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนรูปลิ่ม สอบ เรียว หรือมน ขอบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างบาง เกลี้ยง ด้าน บนสีเขียว ด้านล่างสีจางกว่า เส้นแขนงใบข้างละ ๓-๕ เส้น เส้นใบทางด้านบนเป็นร่อง ด้านล่างนูนเห็นชัด ก้านใบยาว ๑-๕ มม. เกลี้ยง หูใบระหว่างก้านใบรูปสามเหลี่ยมเล็ก ขอบเป็นแฉกลึกคล้ายขนแข็ง มี ๕-๑๑ แฉก เกลี้ยง
     ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกที่ยอดหรือตาม ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ยาว ๑.๗-๑๒ ซม. อาจพบยาวถึง ๒๕ ซม. กว้าง ๑-๔ ซม. ก้านช่อดอกยาว ๑-๕ ซม. ช่อ แขนงหรือช่อย่อยที่อยู่ตามแกนช่อมักออกเป็นคู่ตรงข้าม ๑-๗ คู่ ช่อแขนงแบบช่อกระจุก ค่อนข้างแน่น ทรงกลม เส้น ผ่านศูนย์กลาง ๑-๒ ซม. ก้านช่อแขนงยาว ๐.๕-๑.๒ ซม. มีขน ใบประดับรูปสามเหลี่ยมเรียวแหลม ยาว ๑-๙ มม. ดอกเล็ก สีขาวหรือสีนวล ก้านดอกยาวประมาณ ๑ มม. หรือไร้ก้าน กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปหลอดสั้น ยาวประมาณ ๑ มม. ปลายแยกเป็น ๔ แฉก รูปสามเหลี่ยม แคบ ยาวประมาณ ๑ มม. ปลายแหลม เหยียดตรง ด้าน นอกและด้านในมีขน กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว ๑-๑.๕ มม. ปากหลอดผายออกเล็กน้อย ปลายแยก เป็น ๔ แฉก พบน้อยที่มี ๓ แฉก แต่ละแฉกรูปขอบขนาน ยาว ๔-๕ มม. ปลายแหลม ด้านนอกมีขนที่ปลายแฉก ด้านในมีขนสีขาวยาวนุ่มหนาแน่นที่ปากหลอดกลีบดอก และบริเวณกลางแฉกกลีบดอก เกสรเพศผู้ ๔ เกสร ก้านชูอับเรณูเรียว ยาว ๐.๕-๓ มม. เกลี้ยง อับเรณูรูป ขอบขนาน ยาว ๑-๒ มม. รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มี ๒ ช่อง แต่ละช่องมีออวุลจำนวนมาก ก้านยอดเกสรเพศเมีย เรียวเล็ก ยาว ๒.๕-๕ มม. ปลายแยกเป็น ๒ แฉก ยอด เกสรเพศเมียแบน ยาว ๑-๑.๕ มม.
     ผลแบบผลแห้งแตก รูปทรงค่อนข้างกลม เส้น ผ่านศูนย์กลาง ๒-๓ มม. ปลายผลบุ๋มเป็นแอ่งตื้น มีกลีบ เลี้ยงติดทน เมล็ดขนาดเล็ก มีเหลี่ยมค่อนข้างมน
     ดูกไก่ย่านชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศ ไทยทางภาคเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ พบตามที่โล่งริมทาง ในป่าดิบ ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับทะเล ถึงประมาณ ๗๐๐ ม. ออกดอกและเป็นผลเกือบตลอดปี ในต่างประเทศพบที่อินเดีย เมียนมา จีน ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ดูกไก่ย่าน ๑
ชื่อวิทยาศาสตร์
Dimetia capitellata (Wall. ex G. Don) Neupane et N. Wikstr.
ชื่อสกุล
Dimetia
คำระบุชนิด
capitellata
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- (Wall. ex G. Don )
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (Wall.) ช่วงเวลาคือ (1786-1854)
- G. Don ช่วงเวลาคือ (1798-1856)
ชื่ออื่น ๆ
กำลังหัวละมาน (เชียงใหม่); ขมิ้นไม้ (จันทบุรี); เครือเขาขื่น (เชียงใหม่); เครือมุ้งกระต่าย (หนองคาย);
ตองแห้ง (ใต้); ย่านตะคลองแห้ง (ปัตตานี)
ผู้เขียนคำอธิบาย
นางจารีย์ บันสิทธิ์
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.